ประเภทของสแตนเลสมีอะไรบ้าง

สเตนเลส หรือ เหล็กกล้า
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ”สเตนเลส” ก่อน ว่ามีส่วนผสมอะไรบ้าง แค่พอเป็นความรู้ในการเลือกใช้สเตนเลสให้เหมาะกับวัตถุประสงค์หรือการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสเตนเลส (ไม่ถึงกับต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์นะครับ) สเตนเลส (Stainless steel) หรือ เหล็กกล้าไร้สนิม คือ เหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนน้อยกว่าหรือต่ำกว่า 2% ของน้ำหนัก และมีส่วนผสมของโครเมียมอย่างน้อยที่สุด 10.5% ขึ้นไป จะทำให้กลายเป็น เหล็กกล้า ที่มีความสามารถต้านทานการเกิดสนิมได้ สาเหตุมาจากการทำปฏิกิริยากันระหว่าง ออกซิเจนในอากาศกับโครเมียมในเนื้อสเตนเลส เกิดเป็นฟิล์มบางๆเคลือบผิวไว้ ทำหน้าที่ปกป้องการเกิดความเสียหายให้กับตัวเนื้อสเตนเลสได้เป็นอย่างดี ปกป้องการกัดกร่อน และไม่ชำรุดหรือสึกกร่อนง่ายอย่างโลหะทั่วไป

ประเภทของสแตนเลส

คนโดยทั่วไปจะไม่ทราบว่าสเตนเลสมีกี่ประเภท และมักจะมีการเข้าใจผิดว่าสเตนเลสแท้ต้องแม่เหล็กดูดไม่ติด แต่จริงๆแล้วการที่แม่เหล็กจะดูดติดหรือไม่ติดนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของสเตนเลส สเตนเลสแบ่งออกเป็นกลุ่มพื้นฐาน ได้ 5 กลุ่ม คือ ออสเทนิติค, เฟอริติค, ดูเพล็กซ์, มาร์เทนซิติค และ กลุ่มเพิ่มความแข็งโดยการตกผลึก

กลุ่มออสเทนิติค หรือ สเตนเลสตระกูล 300
มีคุณสมบัติที่แม่เหล็กดูดไม่ติด มีส่วนผสมของโครเมียม 16% คาร์บอนอย่างมากที่สุด 0.15% และมีส่วนผสมของธาตุนิกเกิล 8% ทำให้สามารถต้านทานการกัดกร่อนได้ดี เกรดที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและนิยมเรียก 18/10 คือ การที่มีส่วนผสมของโครเมียม 18% และนิกเกิล 10% ดังนั้นทาง bottlememarket.com จึงนำสแตนเลสกลุ่มออสเทนิติคมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต กระบอกน้ำสเตนเลส กระบอกน้ำสูญญากาศ แก้วฝาปิด รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นสเตนเลสทั้งหมด

กลุ่มเฟอริติค แม่เหล็กดูดติด มีธาตุคาร์บอนผสมปริมาณที่ต่ำ และมีโครเมียมเป็นธาตุผสมหลักที่สำคัญอาจอยู่ระหว่าง 10.5%-27% และมีนิกเกิลเป็นส่วนผสมอยู่น้อยมากหรือไม่มีเลย

กลุ่มมาร์เทนซิติค แม่เหล็กดูดติด มีส่วนผสมของโครเมียม 12-14% และมีธาตุคาร์บอนผสมอยู่ปานกลาง มีโมลิบดีนัมเป็นส่วนผสมอยู่ประมาณ 0.2-1% ไม่มีนิกเกิล สเตนเลสตระกูลนี้สามารถปรับความแข็งได้โดยการให้ความร้อนแล้วทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็ว และอบคืนตัว สามารถลดความแข็งได้ คล้ายกับเหล็กกล้าคาร์บอน

กลุ่มดูเพล็กซ์ มีโครงสร้างผสมระหว่าง โครงสร้างเฟอริติค และออสเทนิติคซึ่งนำข้อดีของทั้งสองกลุ่มมารวมกัน มีโครเมียมเป็นธาตุผสมอยู่ระหว่าง 19-28% และโมลิบดินัมสูงกว่า 5% และมีนิกเกิลผสมอยู่ 4.5 – 8% น้อยกว่าตระกูลออสเทนิติค เพื่อวัตถุประสงค์ของการใช้งานเฉพาะเจาะจงบางประเภท ซึ่งไม่ค่อยมีการผลิตมากนัก

กลุ่มเพิ่มความแข็งโดยการตกผลึก เกรดที่เป็นที่รู้จักในตระกูลนี้ คือ 17-4H ซึ่งมีส่วนผสมของโครเมียม 17% และนิกเกิล 4% สามารถเพิ่มความแข็งแรงได้โดยกลไกเพิ่มความแข็งจากการตกผลึก โดยสามารถเพิ่มความแข็งแรงได้สูงมาก เช่น ยานอวกาศ

5สิ่งต้องรู้ ก่อนทำสีสแตนเลส

งานพ่นสีสแตนเลสด้วยระบบพ่นแบบปิด หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า การพ่นสีสแตนเลส ลงบนชิ้นงานที่ผ่านกรรมวิธีการเชื่อม ประกอบ การดัด การเลเซอร์ การขัด ขึ้นรูป นั้นก่อนจะเข้าสู่กระบวนการพ่นสีลงบนชิ้นงานสแตนเลส ควรเก็บรายละเอียดของชิ้นงานให้เรียบร้อยก่อนส่งมาพ่นสี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาหลังพ่นสีแล้ว 5สิ่งที่ควรรู้ก่อนพ่นสีสแตนเลส

1.สีสแตนเลสเมื่อพ่นแล้วไม่สามารถ เก็บงานเชื่อม ตัด ดัด หลังพ่นสีได้ เพราะจะทำให้สีมีรอยไหม้ หรือเกิดปฎิกริยากับสีให้แตกร่อนได้ ดังนั้นควรเชื่อมชิ้นงานให้เสร็จก่อนทำการส่งพ่นสีสแตนเลส

2.สีพ่นสแตนเลสที่มีคุณภาพดี เมื่อพ่นสีจนแห้งแล้วจะไม่ลอกล่อนเป็นแผ่น สีสันสดใส มีความมันวาวในเนื้อสีละเอียด อายุการใช้งานยาวนาน

3.ก่อนนำชิ้นงานมาพ่นสีสแตนเลสควรตรวจเช็คความเรียบร้อยของชิ้นงาน เช่นรอยไหม้จากการเชื่อม แนวเชื่อม ตามด การล้างเจียรล้างผิว รอยขัดต่างๆ รอยขีดข่วน สีสำหรับพ่นงานสแตนเลสเป็นสีชนิดมีความโปร่งแสง และไม่สามารถปกปิดล่องรอยจากการเก็บงานสแตนเลสขึ้นรูปได้

4.ความเงาของสีพ่นสแตนเเลสขึ้นอยู่กับผิวของสแตนเลส โดยปกติชิ้นงานที่นิยมนำมาพ่นสี จะใช้สแตนเลสเกรด Mirror และ HL หากต้องการพ่นสีสแตนเลสชิ้นงานสีทองเงา ควรใช้สแตนเลสที่เป็นMirror ก็จะให้ความเงางาม

5.วัสดุต่างกันโทนสีที่พ่นได้ต่างกันแม้จะใช้สีในปริมาณเท่ากัน รอบพ่นเท่ากัน ปัจจัยสำคัญของการคุมโทนสีขึ้นอยู่กับชิ้นงานที่พ่น เช่น การพ่นสีลงบนสแตนเลส ผิวมิลเลอร์ กับผิวแฮร์ไลน์ ผลลัพธ์ที่ได้โทนสีจะไม่เหมือนกัน

วิธีการผลิตท่อสแตนเลสและท่อ?
การผลิตท่อสแตนเลสจะเริ่มขึ้นในโรงถลุงเหล็กซึ่งมีแผ่นคอนกรีตหรือเหล็กแท่ง เส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่และท่อผนังหนาที่ทำจากแผ่นรีดร้อนในขณะที่ท่อรอยส่วนใหญ่ผลิตจากรีดเย็นหรือรีดร้อนรีดก่อนวัสดุขึ้นอยู่กับว่าท่อสแตนเลสร้อนหรือเย็นที่เกิดขึ้นผลจะ จงแตกต่าง. ท่อที่ทำจากสเตนเลสสตีลที่ทำจากเย็นจะมีผิวเรียบและมีลักษณะทางกลที่แข็งแกร่งรวมถึงความคลาดเคลื่อนที่ใกล้กว่าท่อที่ใช้เป็นเกลียวที่ขึ้นรูปร้อน

ขึ้นอยู่กับมิติด้านนอกความหนาของผนังและการใช้งานขั้นสุดท้ายมีวิธีการต่างๆในการผลิตท่อและท่อสแตนเลสแบบรอยเชื่อมในรอยต่อและรอยสำหรับท่อหนาขึ้นเป็นวิธีการผลิตหลักสำหรับท่อและท่อสแตนเลส

1 มักใช้ ท่อสเตนเลสแบบสแตนเลส ตามเส้นทางการผลิตที่แสดงด้านล่าง วัสดุจะถูก decoiled โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นเครื่องสะสมแถบซึ่งจะช่วยให้การผลิตหลอดอย่างต่อเนื่อง

2, ท่อสเตนเลส หนาหนาประมาณ 6 มิลลิเมตรและท่อที่มี OD ขนาดใหญ่โดยทั่วไปจะมีขนาดใหญ่กว่า 500 – 600 มม. ทำจากแผ่นชิ้นเดียวหรือแผ่น (ดังแสดงด้านล่าง) ขึ้นอยู่กับความหนาการขึ้นรูปจะกระทำในเครื่องรีดลูกกลิ้งหรือในการกดไฮดรอลิค การเชื่อมจะทำกันทั่วไปในข้อต่อ I, Y หรือ X โดยใช้ PAW และ (tandem) submerged arc welding (SAW) หรือการรวมกันของสิ่งเหล่านี้ในเครื่องเชื่อมที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ การเชื่อมทิกมักใช้สำหรับการแต่งกาย (การผึ่งให้แห้ง) ของราก

การเชื่อมทั้งหมดทำได้โดยปกติกับโลหะบรรจุยกเว้นเมื่อเชื่อมภายใต้รหัสที่ไม่อนุญาตให้มีการเติมโลหะ หลังจากเชื่อมแล้วตะเข็บเชื่อมอาจเป็นพื้นและท่อสามารถอบและน้ำได้ตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานหรือข้อกำหนดของลูกค้า ท่อจะได้รับการสอบเทียบเพื่อให้เป็นไปตามความคลาดเคลื่อนของขนาดที่ระบุตามด้วยการขัดสีด้วยทรายและการดองด้วยกรด ท่อจะถูกทดสอบด้วยวิธี hydrostatic (HT), radiography (RT) หรือ NDT อื่น ๆ เช่นการทดสอบ dyepenetrant (PT) แต่ยัง DT ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่แท้จริง

หมายเหตุ: มาตรฐานของเอสเอสเอส welded มาตรฐาน ASTM:

ASTM A249 ข้อกำหนดมาตรฐานสำหรับหม้อไอน้ำ Austenitic แบบเชื่อม, ฮีทฮีทฮีท, ตัวแลกเปลี่ยนความร้อนและคอนเดนเสทเซอร์

ASTM A269 ข้อกำหนดมาตรฐานสำหรับท่อเหล็กกล้าไร้สนิมออสเตไนท์และสเตนเลสสำหรับบริการทั่วไป

ASTM A270, ข้อกำหนดมาตรฐานสำหรับเหล็กกล้าไร้สนิมสเตนเลสและสเตนเลสสตีล Austenitic และเหล็กกล้าไร้สนิมและเชื่อม

มาตรฐาน ASTM A 312 ข้อกำหนดมาตรฐานสำหรับท่อสแตนเลสสตีล Austenitic ที่ไม่มีรอยต่อ

ASTM A358 ข้อกำหนดมาตรฐานสำหรับท่อเหล็กสแตนเลสสตีลโครเมียม – นิกเกิล Austenitic – Austenitic สำหรับงานบริการที่มีอุณหภูมิสูงและการใช้งานทั่วไป

                          ติดต่อช่าง                      

สเตนเลสเพื่อการใช้งานของฮีตเตอร์

สเตนเลสเพื่อการใช้งานของฮีตเตอร์

“สเตนเลส” หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ “เหล็กกล้าไร้สนิม” เป็นศัพท์ทั่วไปที่ใช้เรียกเหล็กในกลุ่มที่มีความต้านทานการกัดกร่อนสูง สเตนเลสเป็นโลหะผสมระหว่างเหล็กและคาร์บอน ซึ่งส่วนประกอบจะมีปริมาณคาร์บอนต่ำ มีโครเมียมเป็นส่วนผสมหลัก ประมาณ 10.5 % หรือมากกว่า ทำให้เกิดการสร้างฟิล์มโครเมียมออกไซด์ (chromium oxide film : CrO2 หรือเรียกว่า Passive film) ที่มองไม่เห็น เกาะติดแน่นอยู่ที่ผิวหน้า ทำให้เหล็กกล้ามีความต้านทานการกัดกร่อน ยากต่อการขึ้นสนิมเมื่อเทียบกับโลหะหรือวัสดุชนิดอื่นๆ, ค่าซ่อมบำรุงต่ำ, ง่ายต่อการเชื่อมและการขึ้นรูป ระยะเวลาการใช้งานคุ้มค่ากับราคา และประโยชน์ในการใช้งานอื่นๆอีกมากมาย ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ จึงนิยมเอาสเตนเลสมาทำฮีตเตอร์

คุณสมบัติเบื้องต้น
1.ทนทานต่อการกัดกร่อน
สเตนเลสที่เลือกเอามาทำฮีตเตอร์ต้องทนทานต่อการกัดกร่อน สเตนเลสแต่ละประเภทจะแตกต่างกันไปตามส่วนผสมของโลหะ เช่น เกรดที่มีโลหะผสมไม่สูง สามารถต้านทานต่อการกัดกร่อนในบรรยากาศทั่วไป สเตนเลสเกรดนี้เหมาะกับฮีตเตอร์ที่ให้ความร้อนในอากาศหรือไม่มีการกัดกร่อนมากนัก เช่น สเตนเลส304 ในขณะที่เกรดที่มีโลหะผสมสูงสามารถต้านทานการกัดกร่อนในกรด, ด่าง, สารละลาย และบรรยากาศคลอไรด์ได้เกือบทั้งหมด สเตนเลสเกรดนี้เหมาะกับฮีตเตอร์ที่ต้องทนกับสารเคมีมากๆ เช่น สเตนเลส 316 หรือ สเตนเลส 316L

2.ความต้านทานต่ออุณหภูมิสูงและอุณหภูมิต่ำ
สเตนเลสบางเกรดสามารถทนความร้อนและความเย็นได้ รวมถึงการเปลี่ยนอุณหภูมิโดยฉับพลันได้ดี และด้วยคุณสมบัติพิเศษในการทนต่อความร้อน จึงทำให้นิยมนำสเตนเลสไปทำฮีตเตอร์ เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร,อุตสาหกรรมพลาสติก และอื่นๆอย่างแพร่หลาย

3.ง่ายต่องานประกอบหรือขึ้นรูป
สเตนเลสส่วนใหญ่สามารถตัด เชื่อม ขึ้นรูปได้ง่าย ด้วยคุณสมบัติและลักษณะต่างๆของสเตนเลส ช่วยให้ผู้ผลิตฮีตเตอร์สามารถนำสเตนเลสไปดัดแปลงรูปร่างต่างๆให้เหมาะสมกับหน้างานที่ใช้ เช่น ฮีตเตอร์เทอร์บูลาร์ดัดสปริง, ฮีตเตอร์คาร์ทริดจ์ท่อแอล เป็นต้น

4.แข็งแกร่งทนทาน
คุณสมบัติเด่นอีกประการหนึ่งของสเตนเลส คือ ความแข็งแกร่งทนทาน สเตนเลสสามารถเพิ่มความแข็งได้ด้วยการขึ้นรูปเย็น ซึ่งใช้เพื่อออกแบบงาน โดยลดความหนา, น้ำหนัก และราคา สเตนเลสบางเกรดอาจใช้ในงานที่ทนความร้อนและยังคงความทนทานสูง เช่น ฮีตเตอร์หล่ออะลูมิเนียม, ฮีตเตอร์แผ่น, ฮีตเตอร์คาร์ทริดจ์ เป็นต้น

5.ทำความสะอาดง่าย
ฮีตเตอร์ที่ทำด้วยสเตนเลสสามารถทำความสะอาดและดูแลรักษาได้ง่าย เนื่องจากสเตนเลสไม่เกิดสนิมจึงสามารถทำความสะอาดได้ง่าย

จุดด้อยของสเตนเลสที่เลือกเอามาทำฮีตเตอร์
1.สเตนเลสมีความเปราะกว่าเหล็ก
จึงไม่เหมาะสำหรับทำฮีตเตอร์ที่ต้องดัดงอมากๆ หรือดัดถี่เกินไป เมื่อทำการดัดท่อสเตนเลสฮีตเตอร์แล้ว จะไม่สามารถดัดกลับมาเป็นสภาพเดิมได้

2.ทำการเคลือบสีไม่ติด
เนื่องจากสเตนเลสมีการสร้างฟิล์มด้วยตัวเอง ซึ่งทำให้สีที่เคลือบไม่สามารถเกาะติดบนผิวสเตนเลสได้

3.สามารถเกิดสนิมได้
หากจัดเก็บฮีตเตอร์ที่ทำด้วยสเตนเลสในสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีอ๊อกซิเจนปกคลุมผิวสเตนเลส จะทำให้ผิวสเตนเลสเกิดสนิมได้

4.เกิดการผุกร่อนได้
หากผิวสเตนเลสสัมผัสกับกรดเข้มข้นหรือคลอไรด์ (Cl) เพราะสเตนเลสไม่สามารถคงทนต่อกรดเข้มข้นหรือคลอไรด์ จึงจำเป็นต้องเพิ่มนิเกิ้ล (Ni) เข้าไปในส่วนผสมให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มความคงทนต่อการกัดกร่อนจากสารเคมี ส่วนใหญ่มักพบในฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์บ๊อบบิ้น เพราะฮีตเตอร์สองประเภทนี้ต้องสัมผัสกับสารเคมีโดยตรงเป็นระยะเวลานาน จึงเกิดการผุกร่อนได้ง่ายกว่าฮีตเตอร์ประเภทอื่น

                          ติดต่อช่าง